อริยสัจ4

ทุกข์

ทุกข์ คือสภาพที่ทนได้ยาก ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ทุกข์ประจำ คือ ทุกข์ที่ทุกคนต้อง ประสบ ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ และตาย
2.ทุกข์จรคือความทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้ง คราว มี 8 ประการ
1.ความโศก(ความเศร้า)
2.ความพิไรรำพัน(ความบ่นเพ้อ)
3.ความทุกข์ทางกาย(การบาดเจ็บ)
4.ความโทมนัส(ความไม่สบายใจ)
5.ความคับแค้นใจ
6.ความประสบกับสิ่งไม่รัก
7.ความพรดพรากจากสิ่งไม่รัก
8.ความปรารถนาสิ่งใด แต่ไม่ได้

สมุทัย

สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัญหา ความทะยานอยาก จำแนกออดเป็น 3 ประเภท
1.กามตัญหา ความอยากในกาม(รูป, รส, กลิ่น, เสียง, สัมผัส)
2.ภวตัญหา ความอยากเป็น อยากมี
3.วิภวตัญหา ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น

นิโรธ

นิโรธ คือ การดับทุกข์ หรือการละตัณหา
1.วิกขัมภนนิโรธ หมายถึง การดับกิเลศของท่านผู้บำเพ็ญฌาน
2.ตทังคนิโรธ หมายถึง การดับกิเลศด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ
3.สมุจเฉทนิโรธ หมายถึง การดับกิเลศเสร้จสิ้นเด็ดขาด
4. ปฏิปันสัทธินิโรธ หมายถึง การดับกิเลศแล้วไม่ขวนขวายเพื่อดับอีก
5. นิสสรณนิโรธ หมายถึง ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว แล้วอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ภาวะนั้นคือ นิพพาน

มรรค

มรรค คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8
1. สัมมาทิฏฐิ ตือ การรู้นอริยสัจ 4 อย่างถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือ ไม่หลงใหลกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
3. สัมมาวาจา คือ เว้นจากการพูดเพ้อเท็จ พูดส่อเสียด
4. สัมมากัมมันตะ คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
5. สัมมาอาชีพ คือ การประกอบอาชีพสุจริต
6. สัมมาวายามะ คือ การเพียรพยายาม
7. สัมมาสติ คือ การมีสติอยู่ตลอดเวลา
8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นในทางถูก